บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7
คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7-1
1.ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน"
ตอบ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง
2.อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
ตอบ Parsons Brinckhoff เป็นเครื่องมือในระบบค้นหาอินทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มการคืนทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตภายในบริษัท
3.อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือในการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ
คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7-2
1.อะไรเป็นมูลค่าทางธุรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์ของบริษัท Office Depot
ตอบ การได้ลิขสิทธิ์สำหรับใช้ในการโฆษณาส่งเสริมการขาย
2.บริษัท Office Depot ได้ผลจากการลงทุนสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำ OLAP ไปใช้งานอย่างไร
ตอบ ทำให้การขายสูงขึ้นถึง 4 เปอร์เซนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง
3.บริษัท Office Depot ควรที่จะมีการเตรียมให้ผู้จัดส่งสินค้าผ่านเอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดหรือไม่ เพราะอะไร
ตอบ ควรเตรียมผู้จัดหาสินค้าที่มีการทำงานร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดในระบบอินทราเน็ตที่ใช้ Wired ของการเชื่อมโยงใน OLAP บริษัทพร้อมที่จะแบ่งส่วนในการทำงานของการขายร่วมกับผู้จัดหาสินค้าหลักอีกสองแหล่งทั้งหมดที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนแปลงชุดการติดต่อธุรกิจภายใน
กรณีศึกษา บทที่ 8
กรรีศึกษาจริง กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
1. อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERP ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการ
ตอบ GATX ตัดสินใจสร้างงาน (Function) หนึ่งขึ้นมา ซึ่งไม่มีในซอฟต์แวร์ SAP R/3 Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติ
2. อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขาย ERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่ง
ตอบ GATX ได้หลีกเลี่ยงที่จะกระโจนเข้าสู่ข้อผิดพลาดที่หลายๆ บริษัทเคยทำไว้ นั่นคือการพยายามที่จะพัฒนาทุกอย่างด้วยตนเอง
3. อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATX
ตอบ ตลาดการบริหารสินทรัพย์ยังไม่มีระบบงานใดๆที่สนองความต้องการของอุตสาหกรรมนี้”
คำถามกรณีศึกษา บทที่ 6
1.ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักร สามารถช่วยให้เกิดผลกำไรสูงขึ้น และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร
ตอบ ในโรงเลื่อยแถบตอนใต้ ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องเลเซอร์ (Laser Vision Systems) จะวัดขนาดของไม้ซุงและคำนวณการเลื่อยไม้ซุงนั้นให้ได้ผลกำไรคุ้มค่าที่สุดภายใต้สภาพตลาดปัจจุบัน
เพื่อให้ได้มาตรฐาน เครื่องเลเซอร์ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Mercedes-Benz .oU.S. ได้กำหนดการวัดขนาดไว้หลายประการเพื่อใช้กับตัวถังรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่
เครื่องส่องขยายกำลังสูง ใช้ตรวจสอบสิ่งที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่มนุษย์จะเห็นได้ อย่างเช่น การตรวจหาสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กจิ๋วในโรงงานผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ( Semiconductor)


2. ประโยชน์ทางธุรกิจที่ Gulf States Paper ได้รับจาก ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรคืออะไร
ตอบ เทคโนโลยีซึ่งเชื่อมต่อดวงตาที่ไม่เคยกระพริบนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่จะแปลงภาพสิ่งที่เห็น ซึ่งไม่เพียงแต่จะคอยบังคับหุ่นยนต์ที่ประกอบประตูรถยนต์เข้ากับตัวถังรถยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถคัดพืชผักที่มีตำหนิออกจากกระบวนการผลิตอาหารแช่แข็ง แม้กระทั่งช่วยให้มั่นใจว่าแคปซูลยานั้นถูกส่งไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องหรือไม่อีกด้วย
3. ระบบสารสนเทศชนิดอื่นๆที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำงานของระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรที่ใช้ใน Gulf States Paper คืออะไร เช่น คุณคิดว่าข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตลาดไม้แผ่นถูกนำมาป้อนให้แก่ระบบนี้ได้อย่างไร
ตอบ ระบบมองภาพจะคำนวณขนาดของแผ่นไม้ที่จะให้ผลกำไรสูงสุดโดยมีการสูญเสียไม้แต่ละท่อนให้น้อยที่สุดบนจอวิดีโอ จะเห็นแผนภาพขนาดของแผ่นไม้ที่คอมพิวเตอร์จะตัดไม้นั้น
คำถามกรณีศึกษา
Book -Of -The-Month Club:การตลาดแบบขายตรงบนเว็บ
1.คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับ Book -Of -The-Month Club
ตอบ การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตาล็อกที่จะส่งให้ลูกค้า 17 ครั้งต่อปี โดยจะมีรายชื่อหนังสือใหม่ 30 ชื่อเรื่องและลดราคาหนังสือเดิม 200 ชื่อเรื่องต่อครั้ง ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า 3,200 รายการ ซึ่งให้รายละเอียดเป็นพิเศษในเรื่องของเนื้อหา ประวัติของผู้เขียน คำวิจารณ์ของบรรณาธิการ และอื่นๆ
2. คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-Of-The-Month Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้ชื่อสียงของร้านมีความทันสมัยมากขึ้น เปนผลตอบแทนที่ดีแบบไม่ได้ตั้งใจ

3. มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-Of-The-Month Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บ
ตอบ 1. การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
2. การรวบรวมข้อมูล
3. การจัดการฐานข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การนำไปปฏิบัติและตอบสนองลูกค้า
6. การวะเคราะห์การตอบกลับของลูกค้า
คำถามกรณีศึกษา บทที่ 6
1.ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักร สามารถช่วยให้เกิดผลกำไรสูงขึ้น และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร
ตอบ ในโรงเลื่อยแถบตอนใต้ ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องเลเซอร์ (Laser Vision Systems) จะวัดขนาดของไม้ซุงและคำนวณการเลื่อยไม้ซุงนั้นให้ได้ผลกำไรคุ้มค่าที่สุดภายใต้สภาพตลาดปัจจุบัน
เพื่อให้ได้มาตรฐาน เครื่องเลเซอร์ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Mercedes-Benz .oU.S. ได้กำหนดการวัดขนาดไว้หลายประการเพื่อใช้กับตัวถังรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่
เครื่องส่องขยายกำลังสูง ใช้ตรวจสอบสิ่งที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่มนุษย์จะเห็นได้ อย่างเช่น การตรวจหาสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กจิ๋วในโรงงานผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ( Semiconductor)


2. ประโยชน์ทางธุรกิจที่ Gulf States Paper ได้รับจาก ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรคืออะไร
ตอบ เทคโนโลยีซึ่งเชื่อมต่อดวงตาที่ไม่เคยกระพริบนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่จะแปลงภาพสิ่งที่เห็น ซึ่งไม่เพียงแต่จะคอยบังคับหุ่นยนต์ที่ประกอบประตูรถยนต์เข้ากับตัวถังรถยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถคัดพืชผักที่มีตำหนิออกจากกระบวนการผลิตอาหารแช่แข็ง แม้กระทั่งช่วยให้มั่นใจว่าแคปซูลยานั้นถูกส่งไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องหรือไม่อีกด้วย
3. ระบบสารสนเทศชนิดอื่นๆที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำงานของระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรที่ใช้ใน Gulf States Paper คืออะไร เช่น คุณคิดว่าข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตลาดไม้แผ่นถูกนำมาป้อนให้แก่ระบบนี้ได้อย่างไร
ตอบ ระบบมองภาพจะคำนวณขนาดของแผ่นไม้ที่จะให้ผลกำไรสูงสุดโดยมีการสูญเสียไม้แต่ละท่อนให้น้อยที่สุดบนจอวิดีโอ จะเห็นแผนภาพขนาดของแผ่นไม้ที่คอมพิวเตอร์จะตัดไม้นั้น
คำถามกรณีศึกษา
Book -Of -The-Month Club:การตลาดแบบขายตรงบนเว็บ
1.คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับ Book -Of -The-Month Club
ตอบ การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตาล็อกที่จะส่งให้ลูกค้า 17 ครั้งต่อปี โดยจะมีรายชื่อหนังสือใหม่ 30 ชื่อเรื่องและลดราคาหนังสือเดิม 200 ชื่อเรื่องต่อครั้ง ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า 3,200 รายการ ซึ่งให้รายละเอียดเป็นพิเศษในเรื่องของเนื้อหา ประวัติของผู้เขียน คำวิจารณ์ของบรรณาธิการ และอื่นๆ
2. คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-Of-The-Month Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้ชื่อสียงของร้านมีความทันสมัยมากขึ้น เปนผลตอบแทนที่ดีแบบไม่ได้ตั้งใจ

3. มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-Of-The-Month Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บ
ตอบ 1. การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
2. การรวบรวมข้อมูล
3. การจัดการฐานข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การนำไปปฏิบัติและตอบสนองลูกค้า
6. การวะเคราะห์การตอบกลับของลูกค้า
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6
1.ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศ จึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจและผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศ สามารถสนองความต้องการการใช้งานด้านธุรกิจได้


2. ทำไมระบบการตลาดปัจจุบัน จึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต จงอธิบาย
ตอบ การตลาดทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์ธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็

3. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Gulf States Paper Corporation


4. ระบบการขายในสำนักงานอัตโนมัติ มีผลกระทบต่อพนักงานขาย พนักงานฝ่ายบริหารการตลาด และฝ่ายจัดทำเรื่องการแข่งขันอย่างไร
ตอบ การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆบริษัท ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ตของบริษัท


5. ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต สามารถนำมาช่วยในการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตได้อย่างไร
ตอบ กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตและเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อโยงกับสถานีงาน


6. ระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ช่วยสนับสนุนด้านการการจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
ตอบ อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ตและสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - อินทราเน็ต เช่น การให้บริการตัวเองของลูกจ้างจะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน


7. เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบัญชี และการเงินอย่างไร อธิบาย
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ด้านการบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการด้านการเงิน ส่วนระบบสารสนเทศด้านการเงิน สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท เป็นต้น

8. ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจเอง นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสาระสนเทศมาใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ตอบ ใช้ เพราะระบบสารสนเทศสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราไปอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกในการบริหารงานมากขึ้น ยิ่งในเรื่องของระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่ช่วยในเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น
สรุปบทที่ 4 ภาพรวมของการจัดการ:การจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการบริหารองค์การทั้งนี้เพราะว่าสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การในการตัดสินใจเพื่อการแข่งขันดังนั้นองค์การในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญต่อสารสนเทศเพิ่มขึ้น
การจัดการข้อมูล (Data management) ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งในแต่ละวัน ดังนั้นปริมาณข้อมูลก็มีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา องค์การจึงต้องมีนโยบายในการจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมมาแล้ว นำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อลดการซ้ำซ้อน หรือความขัดแย้งของข้อมูล ฐานข้อมูลประกอบด้วยแฟ้มข้อมูล (File) รายการ (Record) ฟิลด์ (Field) ไบต์หรืออักษร (Byte of character) และบิต (Bit) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด
ประเด็นหลักในการบริหารข้อมูล คือ
(1) ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล (Access)
(2) จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security)
(3) สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ในอนาคต (Edit)
(4) ข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะต้องแบ่งเป็นส่วนหรือสร้างเป็นตารางเพื่อง่ายต่อการปรับปรุง (Update) ส่วนต่อประสานผู้ใช้ (User interface) หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
การจัดแฟ้มข้อมูล (File management) เดิมจะมีการจัดแฟ้มในลักษณะอิสระ (Conventional file) ของแต่ละหน่วยงานจึงทำให้เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูล
การจัดการแฟ้มข้อมูลจะต้องพิจารณาถึง
(1) การวางแผนถึงการบริหารแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะต้องทราบรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการ
(2) การแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นแฟ้มข้อมูลหลัก (Master file) และแฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file)
(3) การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล (File organization) ซึ่งสามารถจัดได้ดังนี้
(1) การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ (Sequential file)
(2) การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม (Direct random file organization)
วิธีการประมวลผล (Processing technique) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
(1) การประมวลผลแบบชุด (Batch processing)
(2) การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
(3) การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online processing)
การจัดการฐานข้อมูลจะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ
(1) ภาษาคำนิยามของข้อมูล (Data definition language)
(2) ภาษาการจัดการข้อมูล (Data manipulation language)
(3) พจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary)
ข้อดีของการจัดการฐานข้อมูล
(1) ลดความยุ่งยาก
(2) ลดการซ้ำซ้อน
(3) ลดความสับสน
(4) ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
(5) มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล
(6) การเข้าถึงฐานข้อมูลและความสะดวกในการใช้สารสนเทศเพิ่มขึ้น
ข้อเสีย
(1) มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญระบบฐานข้อมูล
(2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสร้างฐานข้อมูล
(3) การเพิ่มอุปกรณ์ให้ใหญ่ขึ้น
(4) ค่าใช้จ่ายทางด้านโปรแกรมประยุกต์
อุปสรรค์ในการพัฒนาฐานข้อมูล
(1) ความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูล
(2) การสร้างแฟ้มข้อมูลทำได้ยาก
(3) ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูล สามารถออกแบบได้ 3 วิธี คือ
(1) รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model)
(2) รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data model)
(3) รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model)
การบริหารฐานข้อมูล (Database management) ภายในองค์การจะประสบผลสำเร็จจะต้องพิจารณาปัจจัย ดังนี้
(1) การบริหารข้อมูล (Data administration)
(2) การวางแผนข้อมูลและวีการสร้างตัวแบบ (Data planning and modeling methodology)
(3) การจัดการและเทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database technology and management)
(4) ผู้ใช้ (User)

http://ora.chandra.ac.th/~chantara/E-learning_MIS/mis/chapter7.htm


กรณีศึกษา บทที่ 7
กรณีศึกษา Parsons Brinckhoff: ระบบอินทราเน็ตที่ว่า "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน
1. ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน"
ตอบ เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง

2. อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
ตอบ บริษัทใช้การสนทนาระบบออนไลน์ภายในเครือข่ายพื้นที่ปฏิบัติการ โดยวิศวกรที่มีความชำนาญจากทุกมุมโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงของบริษัทและโครงการทางวิศวกรต่างๆ ซึ่งในการสนทนาผ่านทางระบบ PAN จะตั้งหัวเรื่องในการสนทนา

3. อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ ผลที่ได้คือ สะพานแขวน 10 ช่องทางที่ออกแบบโดยบริษัท ซึ่งสะพานดังกล่าวไม่เพียงจะสวยงาม แต่ยังช่วยลดปัญหาการจราจรบนท้องถนนภายในเมือง Boston ได้อีกด้วย ซึ่งสะพานนี้จะเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คำถามกรณีศึกษา Office Depot,Inc. มูลค่าทางธูรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์
1. อะไรเป็นมูลค่าทางธุรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์ของบริษัท Office Depot
ตอบ ลูกค้า

2.บริษัท Office Depot ได้ผลจากการลงทุนสำหรับเทคโลยีสารสนเทศที่นำ OLAP ไปใช้งานอย่างไร
ตอบ Office Depot เตรียมผู้จัดหาสินค้าที่มีการทำงานร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดในระบบอินทราเน็ตที่ใช้ Wired ของการเชื่อมโยงใน OLAP

3. บริษัท Office Depot ควรที่จะมีการเตรียมให้ผู้จัดส่งสินค้าผ่านเอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดหรือไม่ เพราะอะไร
ตอบ บริษัทพร้อมที่จะแบ่งส่วนในการทำงานของการขายร่วมกับผูจัดหาสินค้าหลักอีกสองแหล่งทั้งหมดที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนแปลงชุดการติดต่อธุรกิจภายใน


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1.ถ้าให้นักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ความเป็นผู้นำ ด้านราคา ลดต้นทุนการจัดซื้อสร้างความแตกต่าง วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นนวัฒกรรม เป็นผู้นำในตลาดความเจริญเติบโต พันธมิตร
คุณค่าด้านกลยุทธ์ในทางธุรกิจประการหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้คือ บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. กลยุทย์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยในกระบวนการการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพ
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ ความรวดเร็วความสามรถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามรถเพิ่มประสิทฺภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการติดต่อสื่อสารและการประสานงานในหมู่ที่รับผิดชอบในการทำงานและการบริหาร

3. จงตกตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจ
ตอบ บริษัทรถยนต์ฟอร์ด ได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนของการจัดซื้อ อันเป็นกรณีตัวอย่างของการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ
4. จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท ซิลโก ซิสเต็ม เป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารระยะไกลที่มีชื่อเสียงระดับโลก


5. จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ 1. แรงหลักดันจากลูกค้า (Customer Driven) การเปิดเสรีทางการค้าในอุตสาหกรรมและบริการหลายประเทศ ทำให้คู่แข่ง สามารถเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากและลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจ เลือกซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ธุรกิจต้อง พยายามหาความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยอาศัยการศึกษาและการวิจัยตลาด เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ สอดคล้องความ ต้องการของลูกค้า
2. การแข่งขันระดับโลก (Global Competition) การเติบโตที่รวดเร็วและพัฒนาการที่ต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ส่ง ผลให้หลายธุรกิจขยายตัวจนมีขอบเขตข้ามพรมแดนของรัฐ หรือ ที่เรียกว่า "บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation , MNC)" ทำให้ธุรกิจที่อยู่รอดในอนาคตจะต้องพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวให้รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อที่จะ แข่งขันบนเวทีโลกได้ อย่างสมบูรณ์
3. การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหาร องค์การ ต้องทำการปรับรูปแบบโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม โดยการใช้ ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) เพื่อลด ความฟุ่มเฟือย ในการ ใช้ทรัพยากรทางธุรกิจและสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. คุณภาพ (Quality) ในปัจจุบันทั้งธุรกิจและผู้บริโภคต่างตื่นตัวต่อแนวความคิดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เนื่องจากลูกค้า ไม่เพียงแต่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น แต่เขา ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับเงิน ที่เสียไป หลายองค์การ ได้ พยายามพัฒนาคุณภาพและบริการของตน โดยนำหลักการจัดการด้านการดำเนินงานสมัยใหม่ (Modern Operations Management) มาประยุกต์ให้ในการสร้างคุณภาพของงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management , TQM) การผลิตแบบไม่มี ข้อผิดพลาด (Zero Defect) หรือคุณภาพจากแหล่งกำเนิด (Quality at Source) เป็นต้น
5. เทคโนโลยี (Technology) ธุรกิจนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ไม่เพียงเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพรวมขององค์การ เช่น การลดค่าใช้จ่ายและ ระยะเวลาในการดำเนินงานให้สั้นลงเท่านั้น แต่เทคโนโลยี ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่ธุรกิจ นอกจากนี้การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ของธุรกิจยังช่วย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค

6. จงอธิบายประโยชน์ของบริษัทเสมือน
ตอบ -ใช้โครงสร้างพื้นฐาน และความเสี่ยงร้วมกัน
-เชื่อมโยงความสามรถหลักเข้าร่วมกัน
- ลดเวลา โดยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
-อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการควบคลุมทางตลาด
-เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้กัน
-เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ไขปัญหา

7. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในระหว่างการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่น ๆ ได้อย่างไร
ตอบ โดยสร้างเครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมที่เชื่อมโยงทุกร้านเข้าด้วยกัน เครือข่ายดังกล่าวถูกออกแบบให้ ผู้จัดการ ผู้จัดซื้อ ผู้ซื้อ และ ฝ่ายขาย ทำงานร่วมกัน ดดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ในตลาดออนไลน์


กรณีศึกษา บทที่ 8
กรรีศึกษาจริง กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
1. อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERP ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการ
ตอบ GATX ตัดสินใจสร้างงาน (Function) หนึ่งขึ้นมา ซึ่งไม่มีในซอฟต์แวร์ SAP R/3 Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติ
2. อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขาย ERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่ง
ตอบ GATX ได้หลีกเลี่ยงที่จะกระโจนเข้าสู่ข้อผิดพลาดที่หลายๆ บริษัทเคยทำไว้ นั่นคือการพยายามที่จะพัฒนาทุกอย่างด้วยตนเอง
3. อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATX
ตอบ ตลาดการบริหารสินทรัพย์ยังไม่มีระบบงานใดๆที่สนองความต้องการของอุตสาหกรรมนี้”

กรณีศึกษาจริง การใช้อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
1 ตอบ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจและมีประโยชน์มากสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพราะสามารถสื่อสารคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่นต่างแบบกัน ในอดีตองค์กรหลาย ๆ แห่งเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการลงทุนกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งผลที่ได้บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ ด้วยเหตุที่องค์กรต่าง ๆ จึงได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตเข้ามาใช้ เพื่อเป็นคำตอบสำหรับการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

2. ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของ Ford ก่อให้เกิดอะไรบ้าง
ตอบ ตัวแทนจำหน่ายจะสามารถให้ลูกค้าสั่งซื้อและจัดส่งรถได้ทุกประเภท พนักงานขายสามารถจะนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กับลูกค้าและให้ลูกค้าระบุอุปกรณ์ที่ต้องการ ดูรูปประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงด้วยความละเอียดระดับสูง สั่งซื้อรถ และสามารถรับทราบวันที่แน่นอนในการจัดส่ง

3.ผลกำไรที่ Ford หวังว่าจะได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการสั่งซื้อคืออะไร
ตอบ ลูกค้าสามารถระบุอุปกรณ์ที่ต้องการ ดูรูปประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงด้วยความละเอียดระดับสูง สั่งซื้อรถ และสามารถรับทราบวันที่แน่นอนในการจัดส่ง
สรุป บทที่ 5 เรื่อง อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร

อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมือนอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อการแบ่งปันสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร ความร่วมมือ และการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ อินทราเน็ตได้รับการป้องกันด้วยมาตรฐานความปลอดภัย เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต
บริษัทต่างๆใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล เป็นเครื่องมือความร่วมมือ เก็บประวัติส่วนตัวของลูกค้า เชื่อต่อไปยังอินเทอร์เน็ต และคิดว่าการลงทุนในอินทราเน็ตเป็นเรื่องพื้นฐานเหมือนการติดตั้งโทรศัพท์ให้แกพนักงาน
การสื่อสารและความร่วมมือ อินทราเน็ตสามารถปรับปรุงและความมือภายในองค์กร
งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ มีความง่าย ความสวยงามน่าสนใจ ต้นทุนที่ต่ำของการจัดพิมพ์และการเข้าถึงสารสนเทศธุรกิจสื่อประสมภายในผ่านเว็บไซท์อินอินทราเน็ต
การดำเนินธุรกิจและการจัดการ อินทราเน็ตถูกใช้เป็นฐานงานสำหรับการพัฒนาและนำมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและตัดสินใจด้านการจัดการระหว่างองค์กร
จากอินทราเน็ตของ Sun ทำให้ได้ความคิดที่ดีสำหรับโปรแกรมประยุกต์และบริการที่ธุรกิจสามารถนำมาให้พนักงานใช้บนอินทราเน็ต ดังนี้
- การเรียกดู 3 แบบ ได้แก่ การเรียกดูระดับองค์กร การเรียกดูตามหน้าที่ และ
การเรียกดูตามภูมิศาสตร์
- มีอะไรใหม่ๆ - การเดินทาง
- ห้องสมุดและการศึกษา - ทรัพยากรมนุษย์และสิทธิประโยชน์
- การตลาดและการขาย - วิทยาเขตของ Sun
- สารบัญแฟ้มผลิตภัณฑ์ - ชุดบริการ
- สารสนเทศทางวิศวกรรม - ชุดเครื่องมือก่อสร้าง
ทรัพยากรเทคโนโลยีอินทราเน็ตอินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่มีลักษณะเหมือนอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ ดังนั้น อินทราเน็ตจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของเว็บบราวเซอร์ แม่ข่าย เครือข่ายรับและให้บริการ และฐานข้อมูลสื่อหลายมิติที่สามารถเข้าถึงได้บนอินทราเน็ตและ WWW
มูลค่าทางธุรกิจของอินทราเน็ต
- การประหยัดต้นทุนงานสิ่งพิมพ์ ช่วยลดการพิมพ์ การส่งไปรษณีย์ และการกระจายต้นทุน
- การประหยัดต้นทุนการอบรมและการพัฒนา การเข้าถึงสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์จัดพิมพ์เว็บสำหรับอินทราเน็ตที่ง่ายกว่าวิธีการเดิมมาก
บทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต
ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิดหรือเอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้าและเพิ่มความเป็นหุ้นส่วน
มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของเอ็กซ์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ
ระบบความร่วมมือองค์กร
เป้าหมายของระบบความร่วมมือองค์กร คือ การสามารถทำงานร่วมกันที่ง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
- การติดต่อสื่อสาร แบ่งปันสารสนเทศกับผู้อื่น
- การประสานงาน ประสานความพยายามในเรื่องงานของแต่ละบุคคลและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- ความร่วมมือ ทำงานร่วมกันในโครงการร่วมและงานที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร
เป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้น จึงใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูลและครือข่าย เพื่อนสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างสมาของทีม
กรุ๊ปแวร์สำหรับความร่วมมือองค์กร กรุ๊ปแวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนใช้สารสนเทศร่วมกันกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันในหลายๆโครงการ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โปรแกรมการจัดการติดต่อบนเครือข่ายสำเร็จรูปและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงโปรแกรมการใช้เอกสารร่วมกัน
เครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ
- โทรศัพท์อินเทอร์เน็ตและโทรสาร เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียง และนำสู้การสนทนาสองทาง
- งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ เป็นเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญสำหรับความร่วมมือองค์กร ได้แก่ ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์
เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
ช่วยให้ผู้ใช้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งปันสารสนเทศทำงานร่วมกันที่ได้รับหมอบหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม
- การประชุมข้อมูล ผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่าย สามารถเรียกดูแก้ไข ปรับปรุง บันทึกการแก้ไขลงที่กระดาษสีขาว เอกสาร และสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกัน
- การประชุมเสียง การสนทนาทางโทรศัดพท์ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมผ่านทางโทรศัพท์หรือเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต
- การประชุมทางวีดีทัศน์ แบบทันทีและการประชุมทางไกลโดยเสียง ระหว่างผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่ายหรือระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห้องประชุมที่ต่างสถาบันกัน รวมการใช้กระดาษสีขาวและการแบ่งปันเอกสาร
- กลุ่มหรือชุมชนสนทนา เตรียมระบบสารสนเทศเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อกระตุ้นและจัดการสนทนาข้อความแบบออนไลน์ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษหรือทีมโครงการ
- ระบบพูดคุย การทำให้ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่าบนเครื่องลูกข่ายสามารถสนทนาข้อความแบบออนไลน์ได้แบบทันที
- ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ห้องประชุมกับเครื่องลูกข่าย โดยเครื่องฉายภาพจอภาพขนาดใหญ่ และซอฟต์แวร์ EMS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือและการตัดสินใจของกลุ่มในระหว่างการประชุมทางธุรกิจ
เครื่องมือการจัดการงานที่ทำร่วมกันช่วยให้คนทำงานได้สำเร็จหรือจัดการกิจกรรมที่ทำงานร่วมกัน
- ปฎิทินและกำหนดการ การใช้ปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์และคุณสมบัติอื่นของกรุ๊ปแวร์เพื่อทำกำหนดการ บอกล่าว หรือเตือนอัตโนมัติแก่สมาชิกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทีมและกลุ่มร่วมงานของการประชุม การนัดหมายและเหตุการณ์อื่นๆ
- งานและการจัดการโครงการ จัดการทีมและกลุ่มร่วมงานโครงการด้วยกำหนดการ การติดตามและทำแผนภูมิสถานะความสำเร็จของงานภายใต้โครงการ
- ระบบกระแสงาน ช่วยให้คนงานที่มีความรู้เครือข่ายร่วมมือเพื่อทำงานให้สำเร็จและจัดการการไหลของงานที่มีโครงสร้างและการประมวลผลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในกระบวนการทางธุรกิจ
- การจัดการความรู้ จัดระเบียบและแบ่งปันแบบฟอร์มของสารสนเทศทางธุรกิจที่สร้างภายในองค์กร รวมทั้งการจัดการโครงการและห้องสมุดเอกสารองค์กร ฐานข้อมูลการสนทนา ฐานข้อมูลเว็บไซท์สื่อหลายมิติ และฐานความรู้ประเภทอื่นๆ
คำถามท้ายบทที่8

1.ตอบ ใช้กลยุทธ์ทางสารสนเทศ คือ ทำระบบซื้อขายส่วนกลาง ตรวจตราดูแลด้านต่างๆ พร้อมทั้งควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น

2. ตอบ กลยุทธ์ด้านความรวดเร็ว ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3. ตอบ บริษัท Uarco,Inc. กระการปรับรื้อระบบธุรกิจของ Uarco ทำให้หน่วยบริการลูกค้าสามารถรับผิดชอบการเสนอราคาต่อลูกค้าและการส่งสินค้าได้เอง ดังนั้นพนักงานจึงมีเวลาในการขายได้อย่างเต็มที่ Uarco ประมาณการว่าผลกำไรสุทธิในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 25 เหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจนี้

4. ตอบ บริษัท DEC ปัจจุเป็นบริษัทลูกที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปริมาณที่มาก รวมการรับส่งไปรษณ์อิเล็กทรอนิกส์วันละหลายพันข้อความและเสนอข้อความทางสื่อประสมกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์บนแม่ข่ายเว็บ เป็นต้น สิ่งนี้เป็นผลให้บริษัทขายคอมพิวเตอร์ Alpha ได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ

5. ตอบ บริษัท Chase Manhattan สูญเสียผลกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาดหหลังจากความเพียรพยายามที่จะใช้ประโยชน์ IT ในเชิงกลยุทธิ์ทางเทคโนโลยี

6. ตอบ องค์กรจะเป็นที่รู้จักปรับตัว และรู้จักฉวยโอกาส สามารถสร้างสินค้าที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงไปตรงมาและเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

7. ตอบ โดยการเปลี่ยนขั้นตอนที่ไร้แบบแผนไปสู่การดำเนินการที่เป็นกิจวัตรหรือแบบแผน ลด หรือนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ได้ และนำพาข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู่กระบวนการ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554












ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=2

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกระบบนี้ว่า "ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อผู้บริหารระดับสูง" (Executive Support System: ESS)บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=3

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS
คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/index.html
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/107/index.html
ระบบประมวลผลข้อมูล (DP)เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายงานประจำวัน (Transaction) และการเก็บรักษาข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือ รายงานประจำเดือน
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=5

นาย กุลพงษ์ สอยแก้ว
บ.กจ 3/1

สรุปเนื้อหาบทที่ 6 ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศแบบหลายหน้าที่

ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ คุณจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญกับการทำธุรกิจ ระบบสารสนเทศในโลกแห่งความเป็นจริงได้รวบรวมการผสมผสานของระบบสารสนเทศในการใช้งานตัวอย่างของระบบสนับสนุนกระบวนการด้านธุรกิจระบบสารสนเทศแบบหลายหน้าที่

ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
หน้าที่ทางธุรกิจของการตลาดนั้นเกี่ยวข้องกับ การวางแผน การส่งเสริมการขายและการขายสินค้ารวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และตลาดใหม่ๆ เพื่อให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าที่มีศักยภาพในอนาคต
การตลาดเชิงโต้ตอบ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่องานด้านการตลาด คำว่า การตลาดเชิงโต้ตอบ ใช้อธิบายการตลาดที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อสร้างวิธีให้เกิดการโต้ตอบ 2 ทางระหว่างบริษัทลูกค้า เป้าหมายคือ การที่ทำให้บริษัทได้รับผลประโยชน์จากการใช้เครือข่ายในการทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและรักษาลุกค้าเหล่านั้นไว้
แรงขายอัตโนมัติ
การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆ บริษัท ใช้คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะติดต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และอินทราเน็ตของบริษัท
การจัดการขายและผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการด้านการขายจะต้องมีการวางแผน ตรวจตราและส่งเสริมงานด้านการขายของพนักงานขายในหน่วยงานของตน
การโฆษณาและส่งเสริมการขาย ผู้จัดการด้านการตลาดพยายามที่จะขายผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดในการโฆษณาและส่งเสริมการขาย
เป้าหมายทางการตลาด
- ประชาคม บริษัทสามารถจำแนกข้อความโฆษณาบนเว็บและวิธีการส่งเสริมการขายเพื่อที่จะเข้าถึงคนในกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง
- เนื้อหา การโฆษณาแบบป้ายโฆษณาทางอิเล็กทรอนิกส์หรือแถบป้ายที่สามารถวางไว้บนหน้าเว็บไซท์ต่างๆ ได้
- บริษัท โฆษณาที่ปรากฏบนเว็บไซท์ มักครอบคลุมผลิตภัณฑ์และการบริการ
- ประชากรศาสตร์/จิตวิทยา การตลาดพยายามที่จะพุ่งเป้าไปยังประเภทของกลุ่มของคนที่เฉพาะเจาะจง
- พฤติกรรมออนไลน์ การโฆษณาและส่งเสริมการขายได้พยายามที่จะเจาะสารสนเทศการเข้าใช้เว็บไซท์ของผู้ใช้แต่ละคน
การวิจัยทางการตลาดและการคาดการณ์ ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยทางการตลาดทำให้เกิดการตลาดที่ชาญฉลาด ช่วยให้ผู้จัดการคาดการณ์ทางการตลาดได้ดีขึ้นและพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบสารสนเทศการผลิต ช่วยสนับสนุนงานในด้านการผลิตและการดำเนินงาน รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผนและการควบคุมขั้นตอนของการผลิตสินค้าและบริการ
คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ
- ความง่าย ในการรื้อปรับระบบทำให้กระบวนการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และโครงสร้างของโรงงานเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบอัตโนมัติและบูรณาการให้มีการใช้งานง่ายขึ้น
- อัตโนมัติ ทำให้เป็นอัตโนมัติด้วยการสนับสนุนด้วยคอมพิวเตอร์
บูรณาการ การใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่างโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ช่วยในงานด้านการผลิตและกระบวนการสนับสนุนการผลิต
เครือข่ายความร่วมมือด้านการผลิต
กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และกาบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ
การควบคุมการดำเนินงาน
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานที่เห็นได้ทางกายภาพ กระบวนการควบคุมการทำงานในเชิงกายภาพ กระบวนการควบคุมการทำงานในเชิงกายภาพในการกลั่นน้ำมัน การผลิตซีเมนต์ การถลุงเหล็กกล้า การผลิตสารเคมี เป็นต้น
การควบคุมเครื่องจักรกล เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล ที่รู้จักกันดีในนาม Numerical Control โดยแปลงข้อมูลทางเรขาคณิตจากการวาดภาพทางวิศวกรรมและขั้นตอนการทำงานจากการวางแผนการดำเนินงานไปสู้รหัสตัวเลขของชุดคำสั่งซึ่งควบคุมการทำงานของเครื่องจักร
หุ่นยนต์ การพัฒนาที่สำคัญในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ในเพื่อช่วยในอุตสาหกรรมคือการสร้างสรรค์เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงและหุ่นยนต์ คือ ไมโครคอมพิวเตอร์
ระสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวข้องกับการจัดหา การทดสอบ การประเมินผล การจ่ายเงินค่าตอบแทนและการพัฒนาลูกจ้างขององค์กร เป้าหมายคือการใช้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนผลักดันที่สำคัญของความเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอินทราเน็ต เทคโนโลยีอินทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถทำระบบงานพื้นฐานเกือบทั้งหมดของงานด้าน HRM ได้บนอินทราเน็ตขององค์กร เพื่อการเสนอบริการไปสู่พนักงาน ซึ่งสามารถแพร่กระจายสารสนเทศที่เป็นโยชน์ได้รวดเร็วกว่าช่องทางอื่นๆ
จำนวนบุคลากรขององค์กร การทำงานของบุคลากรต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบสารสนเทศ ซึ่งจะบันทึกและติดตามทรัพยากรบุคคลในบริษัทเพื่อทำให้เกิดการใช้งานสูงสุด
การพัฒนาและฝึกอบรม ระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์วางแผนและดูแลการจัดหา การฝึกอบรมและโครงการพัฒนาพนักงาน โดยการวิเคราะห์ความสำเร็จ จากวางแผนในอดีตของโครงการในปัจจุบัน
การวิเคราะห์ค่าตอบแทน ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ขอบเขตและการกระจายของค่าตอบแทนของพนักงาน ค่าแรง เงินเดือน รายจ่ายพิเศษ และค่าตอบแทนอื่นๆ
การรายงานต่อรัฐบาล ต้องมีการรายงานไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบหลักในเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ระบบสารสนเทศด้านบัญชี
เป็นการใช้ระบบสารสนเทศที่เก่าแก่และแพร่หลายมากที่สุด ใช้แนวคิดในการตรวจสอบการลงรายการบัญชีรับและจ่ายสองครั้ง ระบบการจัดการด้านการเงินมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านกฎหมายและการเก็บบันทึกทางประวัติศาสตร์และการจัดทำรายการเงินที่ถูกต้อง
ระบบบัญชีออนไลน์
- กระบวนการสั่งซื้อ ได้รับและประมวลผลการสั่งซื้อของลูกค้าและสร้างข้อมูลสำหรับระบบควบคุมสินค้าคงคลังและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
- การควบคุมสินค้าคงคลัง ประมวลผลข้อมูลที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสินค้าในคลังและจัดให้มีสารสนเทศเพื่อการขนส่งหรือจัดซื้อใหม่
- บัญชีลูกหนี้ บันทึกจำนวนสินค้าที่ลูกค้าซื้อและจัดทำใบเสนอราคาให้ลูกค้าทำรายการลูกค้าออกมาเป็นรายเดือนและตรวจเครดิต
- บัญชีเจ้าหนี้ บันทกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ จำนวนที่ซื้อและการจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้จัดหาสินค้าและจัดทำรายงานการจัดการเงินสด
- การจ่ายเงินเดือน บันทึกเงินเดือนและค่าตอบแทนของพนักงานและจัดทำการจ่ายเงินเป็นเซ็กและเอกสารเรื่องเงินเดือนและรายงานอื่นๆ
- บัญชีแยกประเภททั่วไป ทำข้อมูลให้มีประสิทธิภาพจากระบบบัญชีอื่นๆ และผลิตรายการทางการเงินอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งรายการทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ หนึ่งการเงินของบริษัท สองการจัดสรรและควบคุมแหล่งการเงินภายในบริษัท
การจัดการเงินสด รวบรวมสารสนเทศจากใบเสร็จรับเงินและการจ่ายเงินเวลาตามจริงหรือเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านั้นทำให้ธุรกิจสามารถนำเข้าหรือขยายเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว
การจัดการการลงทุนออนไลน์ หลายธุรกิจลงทุนเพื่อเพิ่มเงินสดระยะสั้นในตลาดที่มีความเสี่ยงสูง
งบประมาณเงินลงทุน เกี่ยวข้องกับการประเมินความเป็นไปได้ในการทำผลกำไรและผลกระทบจากการจ่ายเงินทุนที่ได้วางแผนไว้
ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
เป็นระบบสารสนเทศซึ่งประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากการเกิดขึ้นของการทำรายการเปลี่ยนแปลง รายการเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ
วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
เก็บและประมวลผลข้อมูลตามที่ได้จากการทำรายการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจะทำการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันและจัดทำสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อการใช้ภายในและภายนอกหน่วยงาน
กระบวนการนำเข้าข้อมูลเข้า
1. การนำเข้าข้อมูลแบบดั้งเดิม โดยปกติขึ้นอยู่กับระบบสารสนเทศผู้ใช้หาข้อมูลบนแหล่งที่เป็นเอกสาร มีค่าใช้จ่ายและข้อผิดพลาดสูง ดังนั้น จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอัตโนมัติ
2. การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอัตโนมัติ มีกระบวนการรับข้อมูลเข้าอัตโนมัติ เพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องปริมาณงาน บุคลากร และสื่อข้อมูลที่ต้องใช้ในการนำเข้าข้อมูลแบบเดิม
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ
การประมวลผลแบบชุด
การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงได้ถูกบันทึกสะสมเป็นชุด เรียงและประมวลผลอย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงฐานข้อมูลเมื่อข้อมูลชุดนั้นได้รับการประมวลผล เวลาตอบกลับใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันหลังจากชุดข้อมูลได้ถูกส่งเพื่อการประมวลผล
การประมวลผลตามเวลาจริง
การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงทันทีที่ได้จัดทำขึ้น การปรับปรุงฐานข้อมูลเมื่อการประมวลผลเสร็จ เวลาตอบกลับไม่กี่วินาทีหลังจากรายการเปลี่ยนแปลงแต่ละตัวได้รับมา
กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ
เพื่อป้องกันความล้มเหลวในการใช้ระบบงานประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบออนไลน์ เช่น ระบบการจองตั๋วของสายการบิน
การบำรุงรักษาฐานข้อมูล
เป็นงานที่สำคัญของระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ฐานข้อมูลต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงฐานข้อมูลขององค์กรให้เป็นปัจุบัน
การจัดทำเอกสารและรายงานทั่วไป
- เอกสารที่ทำให้การกระทำ หมายถึงการกระทำเริ่มแรกหรือรายการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้รับ
- เอกสารสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับการยืนยันหรือการับรองจากผู้รับว่ารายการเปลี่ยนแปลงนั้นได้เกิดขึ้น
- เอกสารหมุนกลับหรือเอกสารที่นำกลับมาใช้อีก ได้ออกแบบให้อ่านได้ด้วยแถบแม่เหล็กหรือเครื่องตรวจกวาดที่มีการอก

นาย กุลพงษ์ สอยแก้ว

บ.กจ 3/1

สรุปบทที่ 7 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร

สารสนเทศ การตัดสินใจและการจัดการ
ระดับของการจัดการตัดสินใจนั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความสำเร็จภายในองค์กร ได้แก่
- การจัดการด้านกลยุทธ์ คณะกรรมการอำนวยการ สมาชิกผู้บริหารและผู้บริหารระดับสูง กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนภายในองค์กร
- การจัดการด้านยุทธวิธี ผู้จัดการหน่วยงาน วางแผนระยะสั้นและระยะกลาง กำหนดตารางเวลา งบประมาณและนโยบายขั้นตอนการทำงานและเป้าหมายทางธุรกิจสำหรับหน่วยย่อยภายในองค์กร
- การจัดการด้านการปฏิบัติการ สมาชิกภายในกลุ่มหรือการปฏิบัติการของผู้จัดการ ในการจัดการวางแผนระยะสั้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เป็นประเภทพื้นฐานของระบบที่สนับสนุนการจัดการและยังเป็นประเภทหลักของระบบสารสนเทศอีกด้วย เป็นตัวสร้างข้อมูลที่สนับสนุนความต้องการในการตัดสินใจสำหรับงานการจัดการวันต่อวัน การสร้างรายงาน
ทางเลือกสำหรับการจัดการรายงาน
- รายงานตามตารางเวลาปกติ การจัดการรายงานในรูปแบบของการกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมการจัดการกับข้อมูลในพื้นฐานที่เหมือนกัน
- รายงานการยกเว้น เป็นการสร้างรายงานเมื่อมีเงื่อนไขการยกเว้นนั้นๆ เกิดขึ้น หรือเป็นรายงานตามกำหนดเวลาแต่มีจ้อมูลเฉพาะสำหรับเงื่อนไขที่ต้องการยกเว้น
- รายงานความต้องการและการตอบสนอง สารสนเทศเป็นสิ่งที่สามารถใช้ได้ตลอกเวลาที่ต้องการ
- รายงานสนับสนุน สารสนเทศจะถูกส่งหรือผลักไปยังเครื่องของผู้จัดการโดยตรง ซึ่งหลายบริษัทใช้ซอฟต์แวร์การกระจายทางเว็บ
กระประมวลผลการวิเคราะห์ต่อตรงหรือออนไลน์
- การรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เกี่ยวข้องกับการรวบรวมของข้อมูล เกี่ยวข้องกับการจับกลุ่มที่ซับซ้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับความสำพันธ์ภายในข้อมูล
- การเจาะลึก OLAP สามารถเข้าไปในทิศทางตรงกันข้ามและแสดงรายละเอียดข้อมูลโดยอัตโนมัติ ที่เรียกว่า เจาะลึก
- การแบ่งส่วนและการสุ่ม อ้างอิงถึงความสามรถในการตรวจดูฐานข้อมูลจากจุดตรวจสอบที่แต่งต่างกันในการแบ่งส่วนออกหนึ่งส่วนของฐานข้อมูลในการขายอาจจะแสดงรายการของการขายของสินค้าประเภทที่อยู่ในขอบเขตทั้งหมด
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีขั้นตอน คือ 1. รูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ 2.ฐานข้อมูลเฉพาะ 3. ผู้ที่ตัดสินใจหรือผู้ตัดสินใจ 4.การติดต่อระหว่างกัน
รูปแบบจำลองและซอฟแวร์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวช่วยของรูปแบบจำลองที่ใช้ในการคำนวณและการวิเคราะห์ประจำวันซึ่งโปรแกรมอาจจะมีรูปแบบจำลองที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนของตัวแปร
การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
- การวิเคราะห์แบบวอทอิฟ ผู้ใช้สามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวแปรหรือจำนวนความสัมพันธ์ของตัวแปรและความชัดเจนของผลลัพธ์ที่ได้จากค่าของตัวแปรอื่นๆ
- การวิเคราะห์แบบละเอียด เป็นกรณีพิเศษของการวิเคราะห์แบบวอทอิฟ ค่าของตัวแปรเพียงหนึ่งตัวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ในตัวแปรอื่นๆ
- การวิเคราะห์แบบค้นหาเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์แบบวอทอิฟและแบบละเอียดจะเป็นการแทนที่ของสิ่งที่เห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรที่มีผลกับตัวแปรอื่น
- การวิเคราะห์แบบเหมาะสม เป็นการขยายความซับซ้อนที่มากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ค้นหาเป้าหมายโดยแทนที่ค่าของเป้าหมายเฉพาะสำหรับตัวแปร เพื่อค้าหาค่าที่เหมาะสมสำหรับตัวแปรหนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น หลังจากนั้นตัวแปรอื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
เป็นระบบสารสนเทศที่มีการรวบรวบเอาลักษณะการทำงานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลายๆ ตัวร่วมกับระบบการสนับสนุนในการตัดสินใจ
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในธุรกิจ
ภาพรวมของปัญญาประดิษฐ์
เป็นการสร้างเส้นทางการการกลับไปยังเส้นทางการทำงานของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี ช่วงเวลาที่สำคัญของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมทุกประเภท ทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ ระบบขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต
ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
1. ศาสตร์แห่งการรับรู้ ในส่วนของปัญญาประดิษฐ์จะตั้งอยู่ในการวิจัยทางด้านชีววิทยา ประสาทวิทยา จิตวิทยา คณิตศาสตร์และการฝึกฝนในหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกัน
2. หุ่นยนต์ วิศวกรรม และชีววิทยา เป็นพื้นฐานการทดสอบสำหรับการออกแบบหุ่นยนต์ เทคโนโลยีได้มีการผลิตเครื่องจักรหุ่นยนต์ร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ชาญฉลาดให้มีความสามารถทางร่างกายที่เหมือนกับมนุษย์
3. ลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ การพัฒนาลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติเป็นการพิจารณาจากหลักของการปฏิบัติการทำปัญญาประดิษฐ์และเป็นส่วนที่สำคัญในการใช้ธรรมชาติของมนุษย์
เครือข่ายเส้นประสาท
เป็นแบบจำลองระบบการประมวลผลที่เหมือนเครือข่ายเส้นใยประสาทของสมองมนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน เรียก เส้นประสาท ที่ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมพื้นฐานจำนวนมากด้วยลักษณะที่คล้ายคลึงกับสมอง ที่มีกระบวนการเชื่อมต่อในลักษณะคู่ขนานและการเคลื่อนที่สื่อสารระหว่างกันทำให้เกิดเครือข่ายความสามารถ เรียก เรียนรู้
ระบบตรรกะที่ไม่ชัดเจน
เป็นการแทนสิ่งที่เล็ก แต่มีประสิทธิภาพและมีการเติบโตในระบบงานของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในหน่วยงานทางธุรกิจเป็นวิธีการของการให้เหตุผลที่คล้ายๆกับมนุษย์ โดยพิจารณาสิ่งที่ไม่สมบูรณ์หรือข้อมูลที่ไม่ชัดเจน
เจนนิทิคอัลกอลิธึม
เป็นประโยชน์เฉพาะเพื่อใช้สำหรับการแก้ปัญหานับพันๆที่มามารถเกิดขึ้นได้และต้องมีการประเมินค่าในการจัดการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ซอฟต์แวร์นี้จะใช้บทบาทของชุดขั้นตอนการทำงานทางคณิตศาสตร์
ความจริงเสมือน
เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ที่พยายามที่จะสร้างให้เป็นธรรมชาติ ดูเสมือนจริงมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ ที่อาศัยอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและส่งข้อมูลที่มีความหลากหลายทางความรู้สึก
การประยุกต์ใช้ความจริงเสมือน
มีขอบเขตที่กว้างขวางและอาศัยการช่วยเหลือเบื้องต้นในการออกแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการปรากฏทางไกล เมื่อผู้ใช้ไปทุกแห่งทั่วโลกและยังสามารถใช้ระบบ VR ในการทำงานเดี่ยวหรือทำงานร่วมกันในการควบคุมระยะไกล
ข้อจำกัดของความจริงเสมือน ต้นทุนของเทคโนโลยีสูง
ตัวแทนชาญฉลาด
เป็นตัวแทนซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้หรือขั้นตอนการทำงานเพื่อเติมส่วนที่ต้องการจะใช้การสร้างและการศึกษาความรู้เกี่ยวกับผู้ใช้งาน บางครั้งจะใช้กราฟิกเป็นตัวแทน
ผู้วิเศษของไมโครซอฟต์
ผู้ช่วยแก้ปัญหาตรงจุดที่มีความสามารถใช้งานที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการทำงานภายในโปรแกรม จะมาพร้อมกับกลไกข้อวินิจฉัยที่สามารถเลือกสาเหตุปัญหาที่น่าจะเป็นไปได้
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบสารสนเทศฐานองค์ความรู้ได้เพิ่มการรับรู้เข้ากับส่วนประกอบหลักที่พบได้ภายในประเภทระบบสารสนเทศในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆทั่วไป
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- ฐานองค์ความรู้ ได้แก่ 1) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวเรื่องหลัก 2) ตัวช่วยหาที่ชัดเจนในขั้นตอนการให้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องนั้นๆ
- ทรัพยากรซอฟต์แวร์ ระบบผู้เชี่ยวชาญจะมีตัววินิจฉัยหรือข้อสรุปและโปรแกรมอื่นสำหรับกรองความรู้และการสื่อสารกับผู้ใช้งาน
การประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ
เกี่ยวข้องกับการโต้ตอบในการทำงานของในคอมพิวเตอร์ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่พบ ซึ่งการทำงานนี้จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ ถามคำถาม ทำการค้นหาฐานความรู้สำหรับปัจจัยและบทบาทหรือความรู้อื่นๆ อธิบายเหตุผลและคำแนะนำที่เชี่ยวชาญกับผู้ใช้งาน
การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
การใช้ระบบนี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ช่วยเหลือระบบผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ไม่ได้ใช้เนื้อหาของฐานองค์ความรู้ แต่จะใช้ระบบนี้ของซอฟต์แวร์กับข้อวินิจฉัยทั่วไปและความสามารถของลักษณะการทำงานของผู้ใช้
วิศวกรรมความรู้
เป็นบุคคลที่ทำงานด้วยความเชี่ยวชาญที่มีความรู้ในขั้นตอนการทำงานเป้นอย่างดี ทำหน้าที่สร้างฐานองค์ความรู้ การใช้งานซ้ำๆ ขั้นตอนการทำงานที่เป็นต้นฉบับจนกระทั่งระบบผู้เชี่ยวชาญนั้นจะยอมรับ
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
มีความรวดเร็วและมีการให้ความช่วยเหลือที่ดีกว่า มีความรู้ในความหลากหลายของความชำนาญ ไม่มีความเหนื่อยล้าหรือขาดสมาธิจากการทำงานหนัก ช่วยให้มีการป้องกันจากอันตรายและการเกิดซ้ำ ช่วยป้องกันความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญก่อนที่จะออกไปจากองค์กร
ขีดจำกัดของระบบผู้เชี่ยวชาญ
ขาดความสามารถในการเรียนรู้ ปัญหาที่คั่งค้าง และต้นทุนในการพัฒนา สามารถช่วยในการแก้ปัญหาในปัญหาเฉพาะที่อยู่ในขอบเขตความรู้ที่จำกัดขอบเขต มีความยากในการใช้งาน มีต้นทุนในการพัฒนาและการบำรุงรักษาที่สูง
ระบบปัญญาประดิษฐ์ผสมผสาน
ทำให้ธุรกิจมองหาระบบที่เหนือกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและระบบการสนับสนุนการตัดสินใจที่จะช่วยพวกเขาแก้ไขปัญหาจากบุคคลที่มีความชำนาญ ซึ่งคำตอบคือ ระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท ซึ่งสามารถร่วมกันทำงานภายในระบบที่มีการเตรียมการทำงานที่ดีที่


นาย กุลพงษ์ สอยแก้ว
บ.กจ 3/1

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1 cross-platform application คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ โปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายๆตัว ซึ่งทำให้การใช้งานมีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกันการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มหรือข้ามระบบปฏิบัติการได้ จึงเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้ได้ดีพอสมควร

2 device driver มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์
ตอบ มีประโยชน์ในการช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายที่เชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ชนิดนั้นราบรื่นและสามารถทำงานได้อย่างไม่ติดขัด เมื่อถอด ย้ายหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใหม่อีก ก็สามารถใช้device driver นี้ติดตั้งเพื่อให้เครื่องอื่นๆรู้จักและติดต่อสื่อสารได้อีกเช่นกัน ปกติผู้ผลิตจะแนบตัวโปรแกรมเหล่านี้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์แล้วในครั้งแรก

3 เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้นเกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใด และเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
ตอบ เกิดขึ้นในช่วงขั้นตอนที่เรียกว่า POST หรือ power on self test เพื่อตรวจสอบความพร้อมของ
อุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด แรม ซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่น
คีย์บอร์ดหรือเมาส์ โดยจะส่งสัญญาณเป็นเสียงสั้นยาวต่างกัน เมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

4 ประเภทของการบู๊ตเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
- โคลบู๊ต (cold boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่
กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
-วอร์มบู๊ต (warm boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตารท์เครื่อง (restart)
โดยมากจะนิยมใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ สามารถทำได้ 3 วิธีด้วย
กันคือ
- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
- กดปุ่ม C+a+d จากแป้นพิมพ์
- สั่งรีสตารท์เครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการได้เลย

5 จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานกับผู้ใช้แบบ Command line และแบบ GUI มาพอสังเขป
ตอบ ส่วนประสานงานแบบ command line จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลคำสั่งด้วยตัวอักษรเพียงเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากต้องจดจำรูปแบบคำสั่งได้ดี สำหรับส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกหรือ GUI จะสนับสนุนการทำงานแบบรูปภาพคำสั่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งตัวอักษรเหล่านั้น ผู้ใช้เพียงแค่เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอก็สามารถสั่งการให้ทำงานได้ตามต้องการ

6 โครงสร้างแบบต้นไม้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไฟล์ในคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง
ตอบ Treelike structure หรือโครงสร้างแบบต้นไม้ เป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลแบบลำดับชั้น
นิยมใช้สำหรับการจัดการโครงสร้างไฟล์ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำโดยแยกออกเป็นส่วนๆเรียกว่า โฟลเดอร์ เหมือนเป็นกิ่งก้านและแตกสาขาไปได้อีก

7 ส่วนประกอบย่อยของไฟล์ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง จงยกตัวอย่างไฟล์มาอย่างน้อย 5 รูปแบบพร้อมทั้งอธิบาย
ตอบ ด้วยว่าแต่ละรูปแบบมีความหมายเช่นไร
ประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ ชื่อไฟล์ (naming files) และส่วนขยาย (extentions) ยกตัวอย่าง
ไฟล์ 5 รูปแบบได้ดังนี้
- myprofile.doc
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า myprofile นามสกุลหรือส่วนขยายคือ doc ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทเอกสารงานนั่นเอง (document)
- report.xls
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า report นามสกุลหรือส่วนขยายคือ xls ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทตารางคำนวณพบเห็นได้กับการใช้งานในโปรแกรม Microsoft Excel
- present.ppt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า present นามสกุลหรือส่วนขยายคือ ppt เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานนำเสนอข้อมูล สร้างจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint
- about.htm
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า about นามสกุลหรือส่วนขยายคือ htm ซึ่งเป็นไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTMLที่ใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บเพจ
- message.txt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า message นามสกุลหรือส่วนขยายคือ txt ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทข้อความ มักสร้างจากโปรแกรมประเภท

8 หน่วยความจำเสมือนเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หน่วยความจำเสมือนหรือ virtual memory จะเป็นหน่วยความจำที่ทำงานเหมือนกับ RAM โดยใช้เนื้อที่ส่วนของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า มาเก็บของส่วนงานทั้งหมดไว้เพื่อเอามาช่วยการทำงานของ RAM เมื่อต้องประมวลผลงานที่มากขึ้น โดยจะแบ่งงานที่มีอยู่ออกเป็นส่วนๆเรียกว่า page ซึ่งจะมีขนาดที่แน่นอน เมื่อใดที่ต้องการประมวลผล ก็จะเลือกเอาเฉพาะที่ต้องการเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าข้อมูลใน RAM เต็ม จึงจะจัดการถ่ายเทข้อมูลดังกล่าวกลับไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้ RAM มีเนื้อที่เหลือว่างและทำงานต่อไปได้ ทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

9 spolling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ หลักการจะอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านเข้ามาไว้ก่อนที่จะส่งไปที่เครื่อง
พิมพ์ เพราะการเก็บข้อมูลไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อนจะทำได้เร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์โดยตรง ซึ่ง
ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกับการพิมพ์งานพร้อมกันทีเดียวในสำนักงานทั่วไป เพราะ
สามารถจัดคิวเพื่อส่งพิมพ์ผลลัพธ์ได้ตามลำดับก่อนหลัง

10 ระบบ plug and play คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน
ตอบ เป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการบางตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อ
สารกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ (plug) ก็
สามารถใช้งานได้เลยทันที (play)

11 multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ เป็นการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกันทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานแทนกัน


นาย กุลพงษ์ สอยแก้ว

บ.กจ 3/1

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

แนวคิดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน
เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทท่ามกลางแรงกดดันทางการแข่งขันที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ทุกวันในตลาดการค้าโลก เป็นระบบที่ช่วยเหลือหรือกำหนดตำแหน่งการแข่งขันในตลาดและกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐาน 5 อย่าง
1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคา
2. กลยุทธ์ความแตกต่าง
3. กลยุทธ์นวัตกรรม
4. กลยุทธ์ความเจริญเติบโต
5. กลยุทธ์สร้างพันธมิตร
บทบาททางกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศ
- การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ
บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำให้บริษัทลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์สำหรับการเปิดตลาดใหม่อีกด้วย
- การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สามารถให้ผลดีในการพัฒนาสินค้าและบริการหรือขั้นตอนการทำงานที่มีเอกภาพ
- การควบคุมลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมสินค้าและผู้จัดหาสินค้า ให้มาทำธุรกิจด้วยกัน
- การสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลง การหาหนทางสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า
- การเพิ่มอุปสรรคของการเข้าสู่วงการ โดยการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการทำงานหรือส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้บริษัทอื่นเกิดความท้อถอยหรือเกิดความล่าช้าที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งในวงการ
- การยกระดับฐานงานเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของการปฏิบัติงาน
- การพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านกลยุทธ์ เป็นข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การแข่งของบริษัท จะเสริมการทำงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของบริษัท
การทำลายอุปสรรคทางธุรกิจ
- การทำลายอุปสรรคทางด้านเวลา การทำให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสั้นลงและลดการลงทุนด้านการเก็บกักสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด
- การทำลายอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ การทำธุรกิจในตลาดทางด้านท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก ทำลายระยะทางที่กีดขวางการควบคุมการบริหารงาน
- การทำลายอุปสรรคทางด้านต้นทุน ประหยัดค่าแรงงาน ลดขนาดของคลังสินค้า ลดจำนวนศูนย์
ขนส่งสินค้า และลดต้นทุนการตัดต่อสื่อสาร
- การทำลายอุปสรรคทางด้านโครงสร้าง อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายการสื่อสารระยะไกลอื่นๆ สามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในบริการการส่งสินค้า เพิ่มขอบข่ายและแทรกซึมเข้าสู่ตลาด
การประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์และประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บริษัทอาจใช้ระบบสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ ในเชิงป้องกันหรือในเชิงควบคุม เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กระบวนการทางธุรกิจในการจัดระบบใหม่
เป็นการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่มากกว่าการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ เหมือนกับการคิดทบทวนใหม่ตั้งแต่เริ่มแรกและออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ ความรวดเร็วความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก
การปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ
วิธีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมทั้งการปรับรื้อระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเทคนิคการปรับโครงสร้างต่างๆ บางบริษัทได้รวมวิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิธี
การบริหารคุณภาพโดยรวม
เป็นมากกว่าวิธีการเชิงกลยุทธ์สำหรับการปรับปรุงธุรกิจ คุณภาพจะเป็นสิ่งที่ถูกเน้นหนักจากมุมมองของลูกค้ามากกว่าตัวผู้ผลิตเอง ดังนั้น คุณภาพจำเป็นต้องตรงตามความต้องการหรือมากกว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าผู้บริโภคสินค้าและบริการนั้นๆ
ก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งที่ฉับไว
ความว่องไวคล่องตัวหรือฉับไวในสภาวการณ์ที่มีการแข่งขันกันสูงนั้น เป็นความสามารถทางธุรกิจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยดี สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงมีผลผลิตที่ดีและเหมาะกับที่ลูกค้าต้องการ
การสร้างบริษัทเสมือน
สามารถทำให้ผู้บริหาร วิศวกร นักวิจัย และพนักงานในสาขาอื่นๆ จากทั่วโลกประสานงานร่วมมือกัน เพื่อผลิตคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆ โดยไม่ต้องมาพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว
กลยุทธ์ของบริษัทเสมือน
- ใช้โครงสร้างพื้นฐานและความเสี่ยงร่วมกัน
- เชื่อมโยงความสามารถหลักเข้าด้วยกัน
- ลดเวลา ด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการครอบคลุมทางตลาด
- เข้าถึงตลาดใหม่ และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้กัน
- เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ปัญหา
การสร้างบริษัทที่สร้างสรรค์ความรู้
คือ บริษัทที่สร้างความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและแพร่กระจายความรู้นั้นออกไปให้ทั่วในองค์กรรวมทั้งรีบปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ได้
ระบบการบริหารความรู้
การบริหารความรู้ จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อให้เรียนรู้การบริหารองค์กรและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจ เป้าหมายคือ ช่วยให้พนักงานที่มีความรู้ได้สร้างจัดระบบและกระจายความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ
การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีกลยุทธ์
- การปรับปรุงด้านต้นทุนและประสิทธิภาพ
- การปรับปรุงผลการทำงานในด้านความมีประสิทธิผลทางธุรกิจ
- การเข้าสู่ตลาดในระดับโลก
- การเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการ
ลูกโซ่การเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ต
สามารถช่วยให้บริษัทประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ได้และยังสามารถถูกใช้สำหรับจัดวางตำแหน่งของระบบงานที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานของบริษัทได้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วย
ความท้าทายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้จัดการมองระบบสารสนเทศในแนวใหม่ ระบบสารสนเทศมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางด้านการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลและเครื่องมือในการตัดสินใจของระดับบริหารอีกด้วย
ความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน
1. สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือโครงสร้างของอุตสาหกรรม
2. ปัจจัยพื้นฐาน ตำแหน่งเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม โครงสร้างองค์กร พันธมิตร สินทรัพย์ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทรัพยากรความรู้
3. การทำการบริหารและกลยุทธ์ การพัฒนาและริเริ่มให้เกิดการกระทำและกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความ


นาย กุลพงษ์ สอยแก้ว

บ.กจ 3/1

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานรากที่รองรับ “สังคมสารสนเทศ” (Information Society) ที่มี “สารสนเทศ” เป็นหัวใจสำคัญ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดบริการสังคมพื้นฐาน ในขบวนการพัฒนาสังคม เช่น ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ทางด้านสาธารณสุข การบริหารรัฐกิจ ฯลฯ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) และได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ

1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference)
3.เครือข่ายการศึกษา (Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจได้หลายประการดังตัวอย่างเช่น

1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ เลือกสินค้าคำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิตได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business)สามารถนำเสนอสินค้า ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้าโดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย

http://http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%207.htm



สารสนเทศสนับสนุนงานขององค์กรอย่างไร บ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)


ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)

ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)

ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
การควบคุมภายใน (internal control)
การควบคุมภายนอก (external control)

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน

ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)

การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1. การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาด ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
2. การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
3. คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า “ รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง ” แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น
4. กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
5. ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน
สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ซึ่งเราสามารถจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย 3 ระบบดังต่อไปนี้
ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและวิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท
ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้
ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค
ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร
4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
5. ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร เป็นระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน

ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)

การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “ การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data) เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
2. ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
3. ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การ นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตผล (productivity) ของธุรกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติ ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการควบคุมต้นทุนขององค์การให้มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแล้ว ยังส่งผลต่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมโดยทางตรงและทางอ้อม
การวางแผนความต้องการวัสดุ
การบริหารทรัพยากรการผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบ (raw materials) เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการด้านการดำเนินงานการผลิต ถ้าธุรกิจมีปริมาณวัตถุดิบมากเกินไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูง แต่ถ้ามีปริมาณวัตถุดิบน้อยเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนและกระบวนการผลิต ตลอดจนก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ การวางแผนความต้องการวัสดุ (material requirement planning) หรือที่เรียกว่า MRP เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุเพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MRP ให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
1. ไม่เก็บวัตถุดิบเพื่อรอการใช้งานไว้นานเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและความเสี่ยงในการสูญหายหรือสูญเสีย
2. รายงานผลการผลิตและความเสียหายที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
3. ควบคุมสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ
4. มีการตรวจสอบ แก้ไข และติดตามผลข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
โดยที่ MRP มีบทบาทต่อระบบการผลิตขององค์การตั้งแต่การจัดหาวัสดุ เพื่อทำการผลิตโดยการกำหนดปริมาณและระยะเวลาในการสั่งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนจัดเตรียมรายละเอียดของการผลิตในอนาคตซึ่งเราสามารถสรุปว่า MRP มีข้อดีดังต่อไปนี้
1. ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต
2. ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
3. ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น
4. ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ
5. ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากระบบ MRP แล้ว ได้มีผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการดำเนินงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (total quality management) หรือที่เรียกว่า TQM และการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in-time production) หรือที่เรียกว่า JIT เพื่อให้ได้การผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งต่างต้องอาศัยระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับผู้ขายวัตถุดิบ (supplier) และลูกค้าภายนอกองค์การ ตลอดจนบุคลากรต้องมีความรู้และความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศด้านการผลิตขององค์การอย่างเต็มที่
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system )

ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system) หรือ HRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้
1. ข้อมูลบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือนและ สวัสดิการ เป็นต้น
2. ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงานและแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
3. ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิดที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นงานสำคัญที่มิใช่เพียงแต่การปฏิบัติงานประจำวันที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลบุคลากรและค่าจ้างแรงงานเท่านั้น แต่ต้องเป็นการดำเนินงานเชิงรุก (proactive) การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
1. ความสามารถ (capability) หมายถึงความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่มคือ
ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วยงานมีความคล่องตัวขึ้น
ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม
2. การควบคุม (control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศโดยเฉพาะการเข้าถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัยพากรบุคคลจะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียงและผลได้-ผลเสียของบุคคล จึงต้องมีการจัดระบบการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่รัดกุม โดยอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานสามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศในส่วนงานของตนเท่านั้น
3. ต้นทุน (cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคลากร ดังนั้นฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคลสมควรมีข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งฝ่ายบริหารสมควรต้องพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ไปหรือไม่
4. การติดต่อสื่อสาร (communication) หมายถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (inforamtion flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพขึ้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ
ปัจจุบันเราต่างยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายสูงที่ธุรกิจต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อมูลผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่งเกิดประโยชน์แก่องค์การและสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลอย่างถูกต้อง

http://http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson9-1.asp





วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554


อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไร

เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวย
ต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย

อ้างอิง

http://http://witoon.blogth.com/9262/%BA%B7%B7%D5%E8+5+%CD%D4%B9%E0%B7%CD%C3%EC%E0%B9%E7%B5%E1%C5%D0%BE%D2%B3%D4%AA%C2%EC%CD%D4%E0%C5%E7%A1%B7%C3%CD%B9%D4%A1%CA%EC.html




อินเตอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต แตกต่างกันอย่างไร

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้ แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET ที่เป็นระบบเปิด ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าใรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งานได้ทำให้อินเตอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกาจนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก

เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต

เอ็กซ์ทราเน็ต หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่าย เอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี EXTRANET (เอ็กซ์ทราเน็ต) หมายความถึง การติดต่อระบบเครือข่ายออกไปภายนอก องค์กรของเราตัวอย่างเช่นการที่เรามีระบบเครือข่ายภายในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น 1 หรือ 2 เครือข่ายบทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต (The Role of Extranets) บทบาทของเครือข่ายภายนอกนั้นมีหลายประการด้วยกัน ประการแรกคือเทคโนโลยีของเว็บเบราเซอร์ ช่วยให้ลูกค้าและร้านค้าต่างๆสามารถเข้าถึงข้อมูลของเครือข่ายภายในได้อย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็วด้วย ประการที่สองบริษัทมีการนำเสนอเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับหุ้นส่วนธุรกิจของบริษัทในเรื่องของการบริการได้ จะเห็นได้ว่า เครือข่ายภายนอกนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้า และร้านค้าต่างๆ เป็นอย่างดี ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิด (Open Internet Technologies) หรือ เอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้า การประหยัดต้นทุน การตลาด การกระจายสินค้า และเพิ่มความเป็นหุ้นส่วน’ เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อติดต่อระหว่างอินทราเน็ตของธุรกิจกับอินทราเน็ตของลูกค้า ผู้ขาย และหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยติดตั้งเครือข่ายส่วนตัวโดยตรงที่เชื่อมระหว่างกันหรือสร้างอินเทอร์เน็ตส่วนตัวที่มีความปลอดภัยเชื่อมโยงระหว่างกัน ที่เรียกว่า เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network) หรือสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเอ็กซ์ทราเน็ตที่เชื่อมโยงระหว่างอินทราเน็ตของบริษัทกับผู้บริโภคและอื่นๆ มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจากหลายปัจจัย ปัจจัยแรก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของ เอ็กซ์ทราเน็ต ทำให้ลูกค้าและผู้ขายเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นกว่าวิธีการทางธุรกิจแบบเดิม ปัจจัยที่สอง เอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นอีกหนทางที่ธุรกิจสามารถสร้างและทำให้เกิดกลยุทธ์ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย ทำให้เกิดการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างธุรกิจกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ อำนวยความสะดวกแบบออนไลน์ให้แก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงโต้ตอบ การตลาด และกระบวนการที่เน้น

อ้างอิง


http://http://narak5.blogspot.com/2011/01/blog-post_8758.html



กูเกิ้ลพลัสคืออะไร


Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย
โดยก่อนหน้านี้เราคงเห็นปุ่ม Google + ที่เปิดตัวกันไปก่อนหน้านี้แล้วซึ่งหลายคนก็ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่ากดไปแล้วมันจะได้อะไร แหล่งปลายทางของข้อมูลที่กด Google+ นั้นจะไปอยู่ที่ไหน


Google + ใช้ชื่อ Tagline เอาไว้ว่า “Real-life sharing, rethought for the web” ซึ่งแน่นอนนี่คือคำเฉลยของข้อมูลจากปุ่ม Google+ ที่ออกมาก่อนหน้านี้
จะเห็นว่าใน Google + นั้นมีการใช้คำว่า +Circles คือระบบเพื่อนนั่นเองที่จะสามารถสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และสามารถกำหนดเป็นกลุ่มๆได้ อย่างเช่น “เพื่อน”, “ครอบครัว” และกำหนดจำนวนคนในกลุ่มได้มากกว่า 100 คนเพื่อใช้พูดคุยกันบนโลกออนไลน์ได้
ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดคุยกันใน Google + โดยจะทีการใช้ชื่อว่า +Sparks ที่มันจะคอยทำหน้าที่กำหนดสิ่งที่เราสนใจต่างๆเพื่อเข้าไปแชร์ ดูข้อมูลหรือสนทนาได้ (แบบ Group ) ยกตัวอย่างเช่นเราสนใจเรื่อง “รถยนต์”, “การ์ตูน”, “แฟชั่น” เป็นต้น ซึ่งเราสามารถระบุสิ่งที่ชื่นชอบเหล่านั้นได้แล้วก็จะมีข้อมูล feed เข้ามาให้เราได้ดู คล้ายหลักการการเป็น Fan ของ Facebook นั้นเองที่เรากด Like แล้วเมื่อต้นทางมีการอัพเดทข้อมูลเราก็จะได้เห็นด้วย แต่ +Sparks จะดึงข้อมูลจาก Internet ที่มากกว่าผ่านปุ่ม Google + เข้ามาแสดงผลด้วยซึ่งมันรองรับภาษาถึง 40 ภาษาในช่วงการเปิดตัวนี้เลยฟีเจอร์ต่อไปนี้ถือว่าหลายคนคงชื่นชอบนั้นคือ +Hangouts ฟังชื่อก็รู้แล้วว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เพราะมันเป็นการกำหนดอนาคตว่าเราต้องการจะไปปาร์ตี้ (ไปทำอะไรก็แล้วแต่) โดยเพื่อนๆสามารถเห็นว่าเรา “ว่าง” พร้อมที่จะออกไปสนุกสนานเรียกให้เพื่อนๆเข้ามาสนุกกับเราด้วย หรือจะเรียกว่ามันคือฟีเจอร์นัดพบก็ว่าได้ แต่มันก็ไม่จำเป็นแค่เพื่อนเท่านั้นที่จะมาเจอกัน เพื่อนของเพื่อนหรือจะใครต่อใครก็ได้เช่นกัน
ขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คือ Chat และแน่นอน Google ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์นี้พอสมควรโดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า + Huddle ซึ่งมันสามารถทำการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆได้ด้วยเหมาะสำหรับการทำเป็น Gang ซึ่งถ้าหลายคนเคยใช้งาน BlackBerry Messenger คงคุ้นกับการสนทนาเป็น Group messaging นี้ดี
และเพื่อให้ Google + สมบูรณ์แบบก็จะต้องมีบนมือถือด้วยโดย Google + พร้อมให้ดาวน์โหลดไปใช้บนมือถือที่เรียกว่า +Mobile โดยมีฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครบสมบูรณ์บนมือถือกันเลย ซึ่งในอนาคตมันคงจะเข้าไปอยู่บนระบบ Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อีกด้วย โดยไปดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้แล้วที่ A ndroid marketว่าแล้วก็ไปลองใช้ Social Networks ตัวล่าสุดนี้กันเลยว่าจะสู้ Facebook อย่างที่ทาง Google คาดหวังไว้หรือไม่
ขณะนี้ (13 กค.54) ผู้ใช้ google+ มียอดคนใช้ถึง 10 ล้านคนทั่วโลกแล้ว


อ้างอิง


http://http://www.kwamru.com/google-plus-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-google/


IM < instant Messaging>


"ด้วยความหลากหลายของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ผนวกกับความสามารถของลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ งานบริการยอดฮิตบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น Instant Messaging จึงถูกย่อส่วนลงมาสู่เครือข่ายภานในองค์กรของเราได้ในที่สุด"
หากกล่าวถึงการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว โปรแกรมส่งข้อความด่วนทันใจหรือ Instant Messaging ดูเหมือนจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จะเป็นรองก็เฉพาะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail หรือ E-mail ) เท่านั้น ความฉับไวของข้อความที่รับส่งกันไปมาระหว่างหน้าจอของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกจอหนึ่งที่อาจจะอยู่ไกลกันคนละฝั่งโลก อันเป็นเอกลักษณ์ของโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม AOL Instant Messenger ,ICQ ,MSN Messenger ,QQ และ Yahoo! Messenger ล้วนแต่สนองตอบความต้องการของมนุษย์ยุคไอซีที ไม่ว่าจะเป็นการสนทนากันธรรมดา การให้บริการแก้ไขปัญหา หรือ การบริการข้อมูลที่ทางธุรกิจ
โดยปรกติแล้วเราจะสามารถสนทนากันผ่านโปรแกรม Instant Messenger ( เรียกย่อ ๆ ว่า IM ) ได้ จะต้องใช้งานผ่านองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ อันดับแรกจะต้องเลือกว่าจะใช้บริการนี้จากผู้ให้บริการรายใด ( Service Providers ) โดยจะต้องผ่านขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกให้เรียบร้อยเสียก่อนด้วย องค์ประกอบที่สองก็คือจะต้องสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการนั้น ๆ ได้โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอย่างแน่นอน และองค์ประกอบสุดท้ายที่จำเป็นก็คือ จะต้องมีโปรแกรมใช้งานฝั่งผู้ใช้ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวโปรแกรมจะต้องสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าโดยทั่วไปหากปราศจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหรือเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ IM ก็จะไม่สามารถรับส่งข้อความกันได้
แต่ถ้าเราต้องการให้ผู้ใช้งานระบบเครือข่ายในองค์กรของเราสามารถรับส่งข้อความกันภายในองค์กรได้เช่นเดียวกับการใช้งาน IM ในระบบอินเตอร์เน็ต ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนที่ได้กล่าวถึงไปแล้วจะสามารถทำให้สำเร็จได้โดยอาศัยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ แน่นอนว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามสไตล์ของ Free Software


อ้างอิง


http://http://www.itdestination.com/articles/jabber/



นายกูลพงษ์ สอยเเก้ว


บ.กจ3/1 เลขที่1