อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไร
เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวย
ต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย
อ้างอิง
http://http://witoon.blogth.com/9262/%BA%B7%B7%D5%E8+5+%CD%D4%B9%E0%B7%CD%C3%EC%E0%B9%E7%B5%E1%C5%D0%BE%D2%B3%D4%AA%C2%EC%CD%D4%E0%C5%E7%A1%B7%C3%CD%B9%D4%A1%CA%EC.html
อินเตอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต แตกต่างกันอย่างไร
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้ แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET ที่เป็นระบบเปิด ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าใรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งานได้ทำให้อินเตอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกาจนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต
เอ็กซ์ทราเน็ต หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่าย เอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี EXTRANET (เอ็กซ์ทราเน็ต) หมายความถึง การติดต่อระบบเครือข่ายออกไปภายนอก องค์กรของเราตัวอย่างเช่นการที่เรามีระบบเครือข่ายภายในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น 1 หรือ 2 เครือข่ายบทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต (The Role of Extranets) บทบาทของเครือข่ายภายนอกนั้นมีหลายประการด้วยกัน ประการแรกคือเทคโนโลยีของเว็บเบราเซอร์ ช่วยให้ลูกค้าและร้านค้าต่างๆสามารถเข้าถึงข้อมูลของเครือข่ายภายในได้อย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็วด้วย ประการที่สองบริษัทมีการนำเสนอเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับหุ้นส่วนธุรกิจของบริษัทในเรื่องของการบริการได้ จะเห็นได้ว่า เครือข่ายภายนอกนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้า และร้านค้าต่างๆ เป็นอย่างดี ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิด (Open Internet Technologies) หรือ เอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้า การประหยัดต้นทุน การตลาด การกระจายสินค้า และเพิ่มความเป็นหุ้นส่วน’ เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อติดต่อระหว่างอินทราเน็ตของธุรกิจกับอินทราเน็ตของลูกค้า ผู้ขาย และหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยติดตั้งเครือข่ายส่วนตัวโดยตรงที่เชื่อมระหว่างกันหรือสร้างอินเทอร์เน็ตส่วนตัวที่มีความปลอดภัยเชื่อมโยงระหว่างกัน ที่เรียกว่า เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network) หรือสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเอ็กซ์ทราเน็ตที่เชื่อมโยงระหว่างอินทราเน็ตของบริษัทกับผู้บริโภคและอื่นๆ มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจากหลายปัจจัย ปัจจัยแรก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของ เอ็กซ์ทราเน็ต ทำให้ลูกค้าและผู้ขายเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นกว่าวิธีการทางธุรกิจแบบเดิม ปัจจัยที่สอง เอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นอีกหนทางที่ธุรกิจสามารถสร้างและทำให้เกิดกลยุทธ์ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย ทำให้เกิดการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างธุรกิจกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ อำนวยความสะดวกแบบออนไลน์ให้แก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงโต้ตอบ การตลาด และกระบวนการที่เน้น
อ้างอิง
http://http://narak5.blogspot.com/2011/01/blog-post_8758.html
กูเกิ้ลพลัสคืออะไร
Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย
โดยก่อนหน้านี้เราคงเห็นปุ่ม Google + ที่เปิดตัวกันไปก่อนหน้านี้แล้วซึ่งหลายคนก็ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่ากดไปแล้วมันจะได้อะไร แหล่งปลายทางของข้อมูลที่กด Google+ นั้นจะไปอยู่ที่ไหน
Google + ใช้ชื่อ Tagline เอาไว้ว่า “Real-life sharing, rethought for the web” ซึ่งแน่นอนนี่คือคำเฉลยของข้อมูลจากปุ่ม Google+ ที่ออกมาก่อนหน้านี้
จะเห็นว่าใน Google + นั้นมีการใช้คำว่า +Circles คือระบบเพื่อนนั่นเองที่จะสามารถสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และสามารถกำหนดเป็นกลุ่มๆได้ อย่างเช่น “เพื่อน”, “ครอบครัว” และกำหนดจำนวนคนในกลุ่มได้มากกว่า 100 คนเพื่อใช้พูดคุยกันบนโลกออนไลน์ได้
ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดคุยกันใน Google + โดยจะทีการใช้ชื่อว่า +Sparks ที่มันจะคอยทำหน้าที่กำหนดสิ่งที่เราสนใจต่างๆเพื่อเข้าไปแชร์ ดูข้อมูลหรือสนทนาได้ (แบบ Group ) ยกตัวอย่างเช่นเราสนใจเรื่อง “รถยนต์”, “การ์ตูน”, “แฟชั่น” เป็นต้น ซึ่งเราสามารถระบุสิ่งที่ชื่นชอบเหล่านั้นได้แล้วก็จะมีข้อมูล feed เข้ามาให้เราได้ดู คล้ายหลักการการเป็น Fan ของ Facebook นั้นเองที่เรากด Like แล้วเมื่อต้นทางมีการอัพเดทข้อมูลเราก็จะได้เห็นด้วย แต่ +Sparks จะดึงข้อมูลจาก Internet ที่มากกว่าผ่านปุ่ม Google + เข้ามาแสดงผลด้วยซึ่งมันรองรับภาษาถึง 40 ภาษาในช่วงการเปิดตัวนี้เลยฟีเจอร์ต่อไปนี้ถือว่าหลายคนคงชื่นชอบนั้นคือ +Hangouts ฟังชื่อก็รู้แล้วว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เพราะมันเป็นการกำหนดอนาคตว่าเราต้องการจะไปปาร์ตี้ (ไปทำอะไรก็แล้วแต่) โดยเพื่อนๆสามารถเห็นว่าเรา “ว่าง” พร้อมที่จะออกไปสนุกสนานเรียกให้เพื่อนๆเข้ามาสนุกกับเราด้วย หรือจะเรียกว่ามันคือฟีเจอร์นัดพบก็ว่าได้ แต่มันก็ไม่จำเป็นแค่เพื่อนเท่านั้นที่จะมาเจอกัน เพื่อนของเพื่อนหรือจะใครต่อใครก็ได้เช่นกัน
ขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คือ Chat และแน่นอน Google ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์นี้พอสมควรโดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า + Huddle ซึ่งมันสามารถทำการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆได้ด้วยเหมาะสำหรับการทำเป็น Gang ซึ่งถ้าหลายคนเคยใช้งาน BlackBerry Messenger คงคุ้นกับการสนทนาเป็น Group messaging นี้ดี
และเพื่อให้ Google + สมบูรณ์แบบก็จะต้องมีบนมือถือด้วยโดย Google + พร้อมให้ดาวน์โหลดไปใช้บนมือถือที่เรียกว่า +Mobile โดยมีฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครบสมบูรณ์บนมือถือกันเลย ซึ่งในอนาคตมันคงจะเข้าไปอยู่บนระบบ Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อีกด้วย โดยไปดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้แล้วที่ A ndroid marketว่าแล้วก็ไปลองใช้ Social Networks ตัวล่าสุดนี้กันเลยว่าจะสู้ Facebook อย่างที่ทาง Google คาดหวังไว้หรือไม่
ขณะนี้ (13 กค.54) ผู้ใช้ google+ มียอดคนใช้ถึง 10 ล้านคนทั่วโลกแล้ว
อ้างอิง
IM < instant Messaging>
"ด้วยความหลากหลายของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ผนวกกับความสามารถของลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ งานบริการยอดฮิตบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น Instant Messaging จึงถูกย่อส่วนลงมาสู่เครือข่ายภานในองค์กรของเราได้ในที่สุด"
หากกล่าวถึงการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว โปรแกรมส่งข้อความด่วนทันใจหรือ Instant Messaging ดูเหมือนจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จะเป็นรองก็เฉพาะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail หรือ E-mail ) เท่านั้น ความฉับไวของข้อความที่รับส่งกันไปมาระหว่างหน้าจอของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกจอหนึ่งที่อาจจะอยู่ไกลกันคนละฝั่งโลก อันเป็นเอกลักษณ์ของโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม AOL Instant Messenger ,ICQ ,MSN Messenger ,QQ และ Yahoo! Messenger ล้วนแต่สนองตอบความต้องการของมนุษย์ยุคไอซีที ไม่ว่าจะเป็นการสนทนากันธรรมดา การให้บริการแก้ไขปัญหา หรือ การบริการข้อมูลที่ทางธุรกิจ
โดยปรกติแล้วเราจะสามารถสนทนากันผ่านโปรแกรม Instant Messenger ( เรียกย่อ ๆ ว่า IM ) ได้ จะต้องใช้งานผ่านองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ อันดับแรกจะต้องเลือกว่าจะใช้บริการนี้จากผู้ให้บริการรายใด ( Service Providers ) โดยจะต้องผ่านขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกให้เรียบร้อยเสียก่อนด้วย องค์ประกอบที่สองก็คือจะต้องสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการนั้น ๆ ได้โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอย่างแน่นอน และองค์ประกอบสุดท้ายที่จำเป็นก็คือ จะต้องมีโปรแกรมใช้งานฝั่งผู้ใช้ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวโปรแกรมจะต้องสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าโดยทั่วไปหากปราศจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหรือเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ IM ก็จะไม่สามารถรับส่งข้อความกันได้
แต่ถ้าเราต้องการให้ผู้ใช้งานระบบเครือข่ายในองค์กรของเราสามารถรับส่งข้อความกันภายในองค์กรได้เช่นเดียวกับการใช้งาน IM ในระบบอินเตอร์เน็ต ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนที่ได้กล่าวถึงไปแล้วจะสามารถทำให้สำเร็จได้โดยอาศัยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส และลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ แน่นอนว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามสไตล์ของ Free Software
อ้างอิง
http://http://www.itdestination.com/articles/jabber/
นายกูลพงษ์ สอยเเก้ว
บ.กจ3/1 เลขที่1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น